เคยสงสัยกันไหมว่า เมื่อไปร้านเครื่องดื่มแล้วสั่งเครื่องดื่มอร่อยๆสักแก้วหนึ่ง สำหรับทาสเครื่อง
ดื่มสีเขียวคงจะเห็นตามเมนูกันบ้างว่า บางร้านก็เขียน มัทฉะลาเต้ บางร้านก็เขียน ชาเขียวเย็นใส่นม
แล้วตกลงอันไหนล่ะที่อยากกิน นึกเมนูโปรดในใจไว้พอดี พอถึงร้านกลับต้องมาสับสน มิหนำซ้ำบ้างร้าน
ก็ยังมีทั้งมัทฉะทั้งชาเขียวซะอีก ยิ่งงงไปกันใหญ่
นับว่าถ้าหากไม่ใช่คนญี่ปุ่นแท้ๆก็คงสับสนกันไม่น้อย สำหรับชาเขียวก็คือ Green Tea นั่นเอง ซึ่งไม่ว่า
จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นใบๆไว้ชงกับน้ำร้อน ที่บรรจุอยู่ในซองกระดาษหรือซองไนล่อน หรือที่ผ่านการบด
ออกมาเป็นผงๆ ทั้งหมดนี้ก็คือชาเขียว หรือ Green Tea ได้ทั้งหมด
สำหรับชาเขียวไม่ว่าจะมีลักษณะในรูปแบบใดก็คือชาเขียว เพียงแต่จะมีวิธีเรียกในชื่อที่แตกต่างกันไปเท่านั้นเอง
.
.
.
มาดูกันว่ารูปแบบมีชื่อเรียกอย่างไร
ชาที่เป็นใบใช้ชงกับน้ำร้อน เราจะเรียกว่า Sencha (煎茶 เซนฉะ)
ชาที่เป็นใบและมีข้าวคั่วอยู่ด้วย เราจะเรียกว่า
Genmaicha (玄米茶 เก็นมัยฉะ)
ชาเขียวที่ถูกนำมาบดเป็นผง เราเรียกให้ถูกต้องก็คือ
Matcha (抹茶 มัทฉะ)
แต่ !!!!
กว่าจะเป็นมัทฉะได้นั้น ก็ต้องผ่านกรรมวิธีบดโดยครกหินที่ทำให้เกิด
ความร้อนน้อยที่สุด และใช้เวลานานมาก ๆ เลยทีเดียว
ดังนั้นจะสังเกตได้เลยว่า ถ้าเครื่องดื่มที่มีคำว่า มัทฉะ ก็จะมีราคาสูง
กว่าปกติประมาน 2- 3 เท่าเลยทีเดียว
หากย้อนไปสมัยโบราณของญี่ปุ่นชาเขียวแบบ มัทฉะ จะนิยมใช้ในพิธีชงชาหมือนที่เราเห็นตามสื่อและ
ภาพยนตร์ต่างๆ ซึ่งด้วยความที่เป็นชาเขียวแท้ๆไม่มีเจือปนนั้นก็จะมีรสชาติที่ขมและเข้มข้นมาก ดังนั้น
ในพิธีชงชาขนมที่ใช้รับประทานในพิธีนั้นจึงมีรสชาติที่ค่อนข้างหวานมากๆเพื่อตัดรสชาติกันนั่นเอง
.
.
.
ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของชาเขียวนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งการนำชาเขียวแบบ มัทฉะ ไป
ผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อให้เกิดเป็นมัทฉะในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งขนม ไอศกรีมและเครื่องดื่ม
ตามๆกันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น