คุณรู้หรือไม่? ว่าลูกอมที่เรากินกัน มีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์ถ้ำแล้ว!!
ลูกอมอันแรกของโลก เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
ตามหลักฐานจาก สมาคมลูกกวาดแห่งชาติสหรัฐ อเมริกา (According to the NationalConfectionary Association) ได้กล่าวไว้ว่า ลูกอม หรือ อมยิ้ม ที่มีไม้เสียบแท่งแรกของโลกได้ถูกทำขึ้นโดยมนุษย์ถ้ำ ยุคดึกดำบรรพ์ โดยคาดว่าเกิดจากการเก็บรักษารวงผึ้งและน้ำผึ้ง จะใช้ไม้เก็บเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียความหวาน ส่วนน้ำผึ้งที่เหลือเล็กๆน้อยๆที่ไม่ต้องการทิ้งพวกเขาก็จะเสียบแท่งไม้เล็กๆเอาไว้ จนเกิดเป็นลูกอมขึ้นครั้งแรกจากวิถีชีวิตด้านการถนอมอาหาร
ต่อมามนุษย์เริ่มที่จะรู้จักน้ำตา ในช่วงแรกๆยุคกลางของยุโรปน้ำตาลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและราคาแพงมาก ผู้ที่จะมีน้ำตาลในครอบครองมักจะเป็นพวกขุนนางและชนชั้นสูงโดยมีความเชื่อว่าน้ำตาลรักษาโรคได้ เพื่อให้สามารถเก็บน้ำตาลไว้ได้เป็นเวลานานจึงมีการต้มน้ำตาลและทำให้อยู่ในรูปก้อนแข็ง และมีการเอามาเสียบแท่งเพื่อทำให้กินได้ง่ายและดูหรูหรา
จนในศตวรรตที่ 17 เป็นยุคที่น้ำตาลมีเยอะและหาได้ง่าย
มีการนำน้ำผลไม้มาผลิตเป็นลูกอม รสชาติต่างๆ เจ้าของ McAviney Candy Company พยายามที่นำลูกอมแข็งๆ ติดกับแท่งไม้เพื่อให้ลูกของเขา และในปี 1908 George Smith ได้ให้ชื่อลูกอมแข็งๆติดกับแท่งไม้ว่า"
Lollipop" และได้รับความชื่นชอบ
ในปีเดียวกันนั้นเองที่บริษัท Racine Confectionary Machine
Company ได้ผลิตเครื่องจักรผลิตอมยิ้มได้เป็นเครื่องแรกของโลก โดยสามารถผลิตได้ถึง
2400 ชิ้นต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
ในปัจจุบันลูกอมมีสีและกลิ่นที่หลากหลาย และได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนทุกช่วงวัย แต่คุณรู้ไหมว่า จริงๆแล้วลูกอมเหล่านี้มีหลายชนิดด้วยกัน และแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
มารู้จักกับ ลูกอม ชนิดต่างๆกันเถอะ
Candy
Cane
ลูกอมสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส
มีลักษณะเป็นลูกกวาดรูปไม้เท้าลายขาวสลับแดงกลิ่นรสเปปเปอร์มินต์ มีความหมายเกี่ยวกับเทศกาล
คือรูปทรงโค้งเหมือนไม้เท้าคือตัว J แทนคำว่า Jesus สีแดงแทนเลือดของพระผู้เป็นเจ้า
สีขาวแทนความบริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า
ส่วนรสเปเปอร์มินต์ที่มีความเผ็ดร้อนถือเป็เอกลักษณ์ของลูกกวาดชนิดนี้
Lollipops
ส่วนมากมีลักษณะกลมแบน มีก้านยาวเสียบสำหรับถือ สีสันสดใส มีส่วนผสมของ น้ำตาลทราย น้ำเชื่อมกลูโคส กรดซิตริก (Citric Acid) สำหรับปรับรสเปรี้ยว
และสารสังเคราะห์ที่ใช้ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ให้ลูกอมมีรสชาติต่างๆ สิ่งสำคัญในการผลิตลูกอมชนิดนี้คือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องป้องกันไม่ให้ความชื้นผ่านเข้าไปยังเนื้อลูกอมได้
จึงจะทำให้เก็บไว้ได้นาน โดยไม่เยิ้มแฉะหรืออ่อนนิ่มไปเสียก่อน
photo credit:crafthubs
Nougat
นู-กัด หรือทางยุโรปออกเสียงว่า นูก้า มีถั่ว
2-3 ชนิดผสมอยู่ในเนื้อขนม บางครั้งอาจใส่ผลไม้เชื่อมลงไปด้วย
เวลาเคี้ยวจะเหนียวหนึบติดฟันคล้ายกับตังเมของบ้านเรา ปกติแล้วนูกัดจะมีสีขาวหม่น แต่ปัจจุบันมีการแต่งเติมสีสันเพิ่มความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในขนมหวาน 13 ชนิดในเทศกาลคริสต์มาสของแคว้นโปรวองซ์
(Provence) ในประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
photo
credit:droid forums
Taffy
แทฟฟี่เป็นลูกอมที่ต่างจากทอฟฟี่ แต่มักถูกเข้าใจผิดเรียกทั้งทอฟฟี่และแทฟฟี่ว่า "ทอฟฟี่" แทฟฟี่จะมีลักษณะเหนี่ยวนุ่ม หวานมัน มีหลากหลายสีสัน เมื่อทำเสร็จจะห่อด้วยกระดาษไขเพื่อป้องกันการแข็งตัว แทฟฟี่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่มักจะแต่งกลิ่นและรสผลไม้นานาชนิด
photo credit:salt water taffy
Toffee
ทอฟฟี่เป็นลูกกวาดเนื้อแข็งที่ไม่มีผลึกน้ำตาลอยู่ในเนื้อ แต่มีส่วนผสมที่เป็นนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
รวมไปถึงไขมันอยู่ด้วย มีทั้งประเภทเนื้อเหนียวสำหรับเคี้ยวหนืบและประเภทเนื้อแข็งสำหรับอม
ส่วนใหญ่มีสีเข็มเนื่องจากผ่านขั้นตอนการทำที่ใช้เวลานานและอุณหภูมิที่สูงกว่าแทฟฟี่
จึงทำให้มีสีเข้มกว่า
Photo
credit: Arcor Coconut Butter Toffee Candy
Jujubes
จูจุ๊บมีลักษณะเด่นที่สีสันสดใส มีกลิ่นและรสชาติหอมหวานหลากหลาย ส่วนมากจะเป็นรสผลไม้ชนิดต่างๆ เพิ่มเข้ามาด้วยจูจุ๊บที่นิยมมากที่สุดคือ อเมริกันจูจุ๊บ ทำจากแป้ง เจลาติน
น้ำตาล และกลูโคส ด้วยความที่จูจุ๊บได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายชนิดมากขึ้น
ได้แก่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จูจุ๊บ แคนาดาจูจุ๊บ เป็นต้น
photo credit:jujubes
Gumdrop
ลูกกวาดสีสันสดใส มีรูปร่างคล้ายถ้วยและโรยด้วยน้ำตาลป่น
ส่วนใหญ่มีสีสันและรสชาติเลียนแบบผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่าสไปซ์ดรอป (Spicedrop) จะอมหรือเคี้ยวก็ได้
และยังนำไปตกแต่งเค้กหรือคัพเค้กเพื่อความสวยงามเก๋ไก๋ได้อีกด้วย
photo credit:gumdrop day
เห็นแล้วใช่ไหมล่ะคะว่า เจ้าลูกอมน่าทานเหล่านี้มีความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง เรียกได้ว่าเป็นของหวานที่มีอายุยืนยาวและสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับผู้คนมาหลายพันปีกันเลยทีเดียว อีกทั้งลูกอมยังได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานของคนอารมณ์ดีอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น