ไอศกรีม นับเป็นของหวานสุดสดชื่น
ที่เป็นที่ชื่นชอบไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหญ่ รุ่นเล็ก เด็กเล็ก เด็กโต วันนี้เราจึงอยากจะพาไปทำความรู้จักกับไอศกรีมให้สนิทมากไปกว่าเดิม
จริงๆ แล้วไอศกรีมเป็นมาอย่างไร มีหน้าตาแบบไหนบ้าง ไปดูกันเล๊ยยย !
http://mangporsudarat.blogspot.com/2015/05/4.html
ไอศกรีม (ice cream)
เราเรียกกันตามภาษาปากว่า “ไอติม”
เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ
แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ
โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน
แต่ว่าในปัจจุบันนี้เราจะเห็นกันว่า
มีไอศกรีมโฮมเมดออกมาให้เราได้ลองทำกันอย่างมากมาย ขั้นตอนมากมายที่ว่ามา
จึงถูกตัดให้สั้นลง และทำกันเองง่ายๆ ภายในบ้านนั่นเอง
ไอศกรีม มีมาตั้งแต่ยุคโบราณเชียวนะ
จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของไอศกรีมนั้น
ไม่เป็นที่แน่ชัดมาเริ่มจากไหน
บางข้อมูลก็ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรแห่งจักรวรรดิโรมัน
ที่ได้มีการพระราชทานเลี้ยงไอศกรีมทหาร โดยในสมัยนั้นทำจากเกล็ดน้ำแข็ง (หิมะ)
ผสมน้ำผึ้งและผลไม้ ซึ่งคล้ายกับไอศกรีมเชอร์เบตในปัจจุบัน
แต่บ้างก็ว่ามาจากประเทศจีน เกิดจากเมื่อสมัยโบราณที่นมถือเป็นของหายาก
จึงได้มีการคิดวิธีเก็บรักษาโดยการเอาไปฝังในหิมะ จึงเกิดเป็นไอศกรีมขึ้น
แม้จะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับไอศกรีมอย่างทุกวันนี้
แต่บ้างก็ว่ามาจากอิตาลี โดยมาร์โค โปโล
กลับจากจีนแล้วเอาสูตรไอศกรีมมาเผยแพร่ ซึ่งในตอนนั้นไอศกรีมของจีนยังไม่มีนม
เป็นคล้ายน้ำแข็งไสมากกว่า ยังมีจุดเริ่มต้นจากอังกฤษเมื่อสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
พ่อครัวคนหนึ่งมีสูตรเด็ดเป็นครีมแช่แข็งปรุงรส
ซึ่งเป็นสูตรลับสุดยอดที่ส่งเป็นของหวานถวายพระองค์ ทว่าเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยโอลิเวอร์
ครอมเวลล์ ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1642-ค.ศ. 1651
พ่อครัวต้องลี้ภัยไปยุโรปจึงได้นำสูตรไอศกรีมนี้เผยแพร่ออกไป
ไอศกรีม เข้ามาในไทยสมัน ร.5
เล่ากันว่า "ไอศครีม" มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5
ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้รับประทานกันแต่ภายในวังเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่ทันสมัยหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ก็ว่าได้
ใครได้ลองรับประทานไอศกรีมในสมัยนั้นก็ถือว่า เป็นคนที่ก้าวล้ำนำสมัยไปโดยปริยาย
ถือว่าสมัยเราโชคดีนะเนี่ย ที่มีของอร่อยๆ
ในราคาที่สบายกระเป๋าไปจนถึงมีระดับ แถมยังมีให้เลือกสรรมากมายอีกด้วย ไปดูกันว่า
ไอศกรีมมีแบบไหนบ้าง หน้าตาจะน่ากินขนาดไหน
ไอศกรีม สามารถแบ่งตามชนิดต่างๆ ได้ 6 ชนิด
1. ไอศกรีม ( lce Cream ) มีส่วนผสมของนม
น้ำตาล ไขมันและเครื่องปรุงรส อื่นๆ เช่น ช็อกโกแลต วานิลลา กาแฟ หรือผลไม้ไม่ว่าจะเป็น
สตรอเบอร์รี่ ข้าวโพด เผือก เป็นส่วนประกอบไอศกรีมพรีเมี่ยม
มีส่วนผสมของไขมันมากที่สุด ในประเภทของ ไอศกรีมทุกชนิด
การบริโภคไอศกรีมทั่วโลกคิดเป็น 70% ของบริมาณของหวาน แช่แข็งทั้งหมด
https://www.pinterest.com/pin/488922103280648118/
2. ไอศกรีมหวานเย็นผสมนม ( Milk lce or
lce Milk) มีปริมาณไขมันน้อยกว่า ไอศกรีมมีส่วนผสมของนม
น้ำตาลและเครื่องปรุงรสอื่นๆ สามารถผลิต ไอศกรีม ชนิดนี้ได้ทั้งแบบเนื้อนุ่มและแบบเนื้อแข็ง
https://www.pinterest.com/pin/456411743467642441/
3. เชอร์เบท (Sherbet) ไม่มีไขมัน
มีส่วนผสมสำคัญคือน้ำผลไม้และน้ำตาล มีนมเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กนัอย รสชาติออกเปรี้ยวและหวาน
เนื้อไอศกรีม เชอร์เบทจะเหนียว เนียนละเอียด สีสวยสดใส
https://www.pinterest.com/pin/168603579776105625/
4. ซอร์เบท์ (Sorbet) ไม่มีไขมัน
มีส่วนผสมสำคัญ คือ ผลไม้(น้ำผลไมัหรือชิ้น เนื้อผลไม้บด) และน้ำตาล
ซอร์เบท์มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด เนื้อไอศกรีมมีลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด
นุ่มได้รสชาติผลไม้เข้มข้น
5. ไอศกรีมหวานเย็น (Water Ice) ไอศกรีมหวานเย็น
มีส่วนผสมหลัก คือ น้ำตาล น้ำเครื่องปรุงรสและกลิ่น
ไม่มีส่วนผสมของไขมัน มีปริมาณน้ำมากที่สุด สีและรส
เป็นส่วนผสมสำคัญเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน และรสชาติที่ต้องการส่วนใหญ่มี ลักษณะ
เป็นแท่ง
https://www.pinterest.com/pin/AexSRzHTuu-J9yfiuZUzUEp875-nN1myu380gf1mU1LDHsUoKn56caw/
6. ไอศกรีมโยเกิร์ต (Y๐hGurt
Ice Cream) มีส่วนผสมหลักคือไอศกรีมและโยเกิร์ต
ซี่งจะให้รสชาติหวานกลมกล่อมแบบไอศกรีม และเปรี้ยวเล็กนัอยแบบโยเกิร์ต
สามารถผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตได้หลากหลายรสชาติเหมือนไอศกรีมทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้รสชาติผลไม้เป็นหลัก
https://www.pinterest.com/pin/516647388481614386/
สนิทกับไอศกรีมกันมากพอสมควรแล้วเนอะ พอเห็นหน้าตาไอศกรีมเยอะแยะขนาดนี้แล้ว แต่ละชนิดก็น่าลิ้มลองสุดๆ เลย หลายคนคงอดใจไม่ไหวแล้วใช่ไหมล่ะ จะรออะไร ไปหาไอศกรีมอร่อยๆ ทานกันเถอะ !!
ข้อมูล : http://www.student.chula.ac.th/~53373185/page_2.htm
http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=56377
http://th.wikipedia.org/wiki
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น